การพยากรณ์ฤดูกาล ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554

วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอีอ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2553)26.316.48.5295[1]
8 มีนาคม 255427.817.57.8275[1]
5 พฤษภาคม 255428.017.77.6266[2]
4 กรกฎาคม 255428.318.18.4294[3]
5 สิงหาคม 255428.217.98.0281[4]
วันที่พยากรณ์ศูนย์
พยากรณ์
ช่วงเวลาระบบพายุอ้างอิง
มกราคม 2554PAGASA1 มกราคม — 31 ธันวาคม20–23 ลูก
30 มิถุนายน 2554CWB1 มกราคม — 31 ธันวาคม22–26 ลูก[5]
ฤดูกาล 2554ศูนย์
พยากรณ์
พายุหมุนเขตร้อนพายุโซนร้อนพายุไต้ฝุ่นอ้างอิง
เกิดขึ้นจริง:JMA39218
เกิดขึ้นจริง:JTWC271810
เกิดขึ้นจริง:PAGASA19146

ในแต่ละฤดูกาล สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของหลายประเทศ และหน่วยงานวิทยาศาสตร์หลายแห่ง ต่างพยากรณ์จำนวนพายุหมุนเขตร้อน พายุเขตร้อน และพายุไต้ฝุ่นที่จะก่อตัวขึ้นระหว่างฤดูกาล และ/หรือ จำนวนพายุหมุนที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง[2] หน่วยงานเหล่านั้นประกอบด้วย ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเอเชีย-แปซิฟิก กาย คาร์เพนเตอร์ (GCACIC) แห่งมหาวิทยาลัยนครฮ่องกง, องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และสำนักสภาพอากาศกลางแห่งไต้หวัน[2][5]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) คาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนประมาณยี่สิบถึงยี่สิบสามลูก ก่อตัวขึ้น และ/หรือ เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินภายในปี 2554[6] วันที่ 20 มีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกง คาดการณ์ว่าฤดูพายุไต้ฝุ่นในฮ่องกงอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยอาจมีพายุหมุนเขตร้อนหกถึงเก้าลูกเคลื่อนตัวผ่านในระยะ 500 กม. นับจากดินแดนฮ่องกง โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6 ลูก[7] วันที่ 30 มีนาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน ได้ออกการคาดการณ์ฉบับแรกของฤดูกาล โดยพยากรณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนใกล้เคียงค่าเฉลี่ย โดยมีพายุโซนร้อน 27.8 ลูก พายุไต้ฝุ่น 17.5 ลูก พายุไต้ฝุ่น "รุนแรง" 7.8 ลูก และมีค่าดัชนีการสะสมพลังงานในพายุหมุนเขตร้อน (ACE) อยู่ที่ 275 หน่วย[nb 1][1] ต่อมาในช่วงต้นเดือนเมษายน กรมอุตุนิยมวิทยาจีน (CMA) คาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 24 ถึง 26 ลูกก่อตัวขึ้นภายในแอ่งหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่งในช่วงปี โดยระบุว่าจะมีพายุมากกว่าปีก่อนที่มีพายุ 14 ลูก[8] นอกจากนี้ยังพยากรณ์การพัดขึ้นฝั่งประเทศจีนไว้ว่า จะมีพายุพัดขึ้นฝั่งประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน ถึงวันที่ 7 ตุลาคม[8] ต่อมาในวันที่ 26 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยา (TMD) คาดการณ์ว่าจะมีพายุโซนร้อนสองลูกที่ส่งผลกระทบกับประเทศไทยในปี 2554 โดยพายุหนึ่งลูกส่งผลกระทบกับตอนบนของประเทศในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน ขณะที่อีกหนึ่งลูกจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน[9]

ในช่วงเดือนพฤษภาคม GCACIC ได้ออกการคาดหมายแรกของปี โดยพยากรณ์ว่าฤดูกาลนี้จะใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย โดยมีพายุหมุนเขตร้อน 31 ลูก พายุโซนร้อน 27 ลูก พายุไต้ฝุ่น 17 ลูก ก่อตัวขึ้นในระหว่างฤดูกาล[10] นอกจากนี้ยังพยากรณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเจ็ดลูกพัดขึ้นฝั่งในภาคใต้ของประเทศจีน ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม[10] ต่อมา TSR ได้ปรับแก้การคาดการณ์ของหน่วยงาน โดยเพิ่มจำนวนพายุโซนร้อนเป็น 28 ลูก เพิ่มจำนวนพายุไต้ฝุ่นเป็น 17.7 ลูก และลดพายุไต้ฝุ่น "รุนแรง" ลงเป็น 7.6 ลูก และลดค่าดัชนี ACE ลงเหลือ 266 หน่วย[2] ในปลายเดือนมิถุนายน สำนักสภาพอากาศกลางไต้หวันได้พยากรณ์ฤดูกาล โดยคาดว่าจะมีพายุใกล้กับค่าเฉลี่ย 25.7 ลูก โดยพายุโซนร้อน 22 ถึง 26 ลูกจะเกิดขึ้นในแอ่งในปี 2554[5] และคาดว่าจะมีพายุสามถึงห้าลูกส่งผลกระทบต่อประเทศไต้หวัน โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.6 ลูก[5] ในการปรับปรุงการคาดการณ์เดือนกรกฎาคมของ GCACIC โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเจ็ดลูกพัดขึ้นฝั่งภาคใต้ของประเทศจีน ในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม [11] และยังคาดการณ์อีกว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเจ็ดลูกเคลื่อนผ่านในระยะ 100 กม. จากคาบสมุทรเกาหลี หรือ ประเทศญี่ปุ่นในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม เทียบกับค่าเฉลี่ยที่สามลูก[11] โดยในการปรับปรุงของ TSR เดือนกรกฎาคมนี้ยังคาดว่าจะมีดัชนี ACE อยู่ที่ประมาณ 194 หน่วย และเพิ่มจำนวนพายุโซนร้อนเป็น 28.0 ลูก พายุไต้ฝุ่น 18.1 ลูก และพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 8.4 ลูก[3] และต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม TSR ได้ปรับแก้การพยากรณ์ใหม่ โดยเป็นการปรับปรุงครั้งสุดท้ายของปี 2554 โดยคาดการณ์จำนวนพายุโซนร้อนอยู่ที่ 28.2 ลูก พายุไต้ฝุ่น 17.9 ลูก พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 8.0 ลูก และค่าดัชนี ACE อยู่ที่ 281 หน่วย[4]

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://thoughtleadership.aonbenfield.com/Documents... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://blackteacentral.com/nalgae-leaves-18-dead-i... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-...